วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทำสาวมะนาว,ตัดแต่งกิ่งชุดใหม่

การทำสาวมะนาว
               หลังจากต้นมะนาวให้ผลผลิตและอายุของต้นพันธุ์มะนาวได้ประมาณ 3-4 ปี กิ่งหรือลำต้นก็จะเริ่มก็จะเริ่มแก่และโทรม การแตกกิ่งก็จะน้อย ไม่สวย มีผลถึงคุณภาพของกิ่งพันธุ์และคุณภาพลูก จำนวนของลูกมะนาวที่ติดผล อีกทั้งการบังคับให้มะนาวออกผลผลิตตามระยะเวลาที่ต้องการ ในช่วงที่ราคามะนาวที่สูงสุดของฤดูการก็จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งและเตรียมกิ่งให้พร้อมสมบูรณ์ ทั้งในการสะสมอาหารก็จะต้องเพียงพอต่อการที่จะทำให้เกิดดอกด้วย
ทั้งนี้มีเกษตรกรและเพื่อนๆอีกหลายๆ คนไม่สามารถตัดใจกับผลมะนาวที่ยังมีอยู่ที่ต้น ก็เลยปล่อยเลยตามเลยไปมิน้อยครับ ผมก็เช่นกันช่วงแรกก็ทำใจยากเหมือนกันครับ แต่ก็ต้องยอมเพราะเพื่อแลกกับคุณภาพของกิ่งพันธุ์และคุณภาพลูกมะนาวอีกทั้งจะนวนลูกที่จะเพิ่มขึ่นเมื่อต้นพันธุที่สมบูรณ์

มาดูกันครับ.....

การเตรียมอุปกรณ์

1.กรรไกร ตัดแต่งกิ่ง เน้นต้องคมมากๆ และต้องเบาแรงในการตัดครับ
2.สารป้องกันและกำจัดเชื่อรา ของผมใช้ เมทาแล็กซิลครับ
3.ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15,46-0-0 หรือ 25-7-7 ครับ
4.แรงงาน เน้นผู้ชายที่มือแข็งแรงหน่อยนะครับ เพราะบอกได้เลย ทั้งปวด ทั้งเมื่อย มากๆ









ต้องการให้แตกยอดใหม่ประมาณนี้ ครับผม..



https://www.facebook.com/wicha.lamonthai/posts/832259540200874


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

แมลงศัตรูพืชในมะนาว

เพลี้ยไฟ



เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน

     เพลี้ยไฟปกติจะระบาดหนักในช่วงอากาศร้อนชื้นหรือช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝน เป็นหลัก วงจรชีวิตตั้งแต่ไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ20-30 วัน ระยะไข่ถึงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ก็เป็นตัวอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของพืชได้โดยวิธีเขี่ยและดูด (การเขี่ยทำให้ผลเป็นแผลตัวเต็มวัยเพศเมีย 1ตัว สามารถวางไข่ได้ 100-500 ฟอง ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ และสามารถวางไขได้เองโดยไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ ตัวเมียจะวางไข่ภายในเนื้อเยื่อบริเวณด้านบนของใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน

    การระบาดในมะนาว

             ความเสียหายที่เกิดจากการเข่้าทำลายของเพลี้ยไฟนอกจากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนแล้ว ผลอ่อนก็ยังพบการเข้าระบาดเหมือนกัน ทั้งนี้เราไม่สังเกตุเห็นเนื่องจาก ขนาดของผลที่เล็กมากจึงไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนนัก แต่เมื่อขนาดของผลเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะยิ่งชัดเจนมากเท่านั้น

      การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

          จะเน้นเชิงการควบคุมปริมาณประชากรเป็นหลักโดยสังเกตปริมาณการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในช่วงเวลาของการเริ่มระบาด หากพบว่ามีปริมาณของเพลี้ยไฟ ในช่วงของการเริ่มต้นการระบาดจำนวน 1ตัว/1ใบพืช หรือ 1ตัว/ยอด ก็ให้ใช้หลักการป้องกันการเพิ่มปริมาณประชากรทันที โดยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อิมิดาคลอพริค 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มาลาไทออน (มาลาไธออน 83% อีซี) อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บวก  "สารชีวภัณฑ์"  เพื่อกำจัดไข่  การกำจัดทั้งตัวอ่อน ตัวเต็มวัย และไข่ จะทำให้ทั้งเพลี้ยไฟสูญพันธุ์
โดยสาเหตุที่เพลี้ยไฟมีขนาดลำตัวเล็ก และมีวงจรชีวิตสั้นจึงควรเน้นเครื่องพ่นที่มีขนาดละอองยาเล็ก เพื่อให้ละอองยาทะลุทุลวงทรงพุ่มได้ดี และควรฉีดพ่นครั้งที่ และครั้งที่ห่างกัน 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดหนักอาจจำเป็นต้องฉีดพ่น 3-4 ครั้ง ห่างกันทุก 5-7 วัน จึงจะสามารถควบคุมปริมาณประชากรเพลี้ยไฟได้ดีแน่นอน รวมทั้งแมลงศัตรูพืชทุกชนิด เช่น
เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอน ฯลฯ


                        



หนอนชอนใบ

หนอนชอนใบ ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนชอนใบ ลัษณะอาการ ผิวใบเป็นรอยทางเดินของหนอนแบบไม่มีทิศทาง ใบที่ถุกทำลาย มีลักษณะใบหยิก ผิดรูป ถ้าเป็นใบอ่อนจะม้วนงอ สามารถป้องกันและแก้ไขโดยใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่น ทุก 4-7 วัน จนกว่าการระบาดจะหมดไป เคมีประเภท อะบาเม็กติน ไม่ควรใช้คาร์โบซัลแฟน และคลอร์ไพริฟอส มีพิษตกค้างเยอะมาก ไม่ควรใช้กับไม้ผลที่ไกล้เก็บเกียว นะครับ..


                                    

                                     

                                     

ภัย..จากหนอนเจาะลำต้น 

หนอนเจาะลำต้น ชื่อจริง "หนอนเจาะลำต้นกาแฟ" ระบาดในพืชอาศัย กาแฟ ลำใย ส้ม มะนาว เป็นต้น ความเสียหาย เจาะกัดกินภายในกิ่ง ทำให้กิ่งแห้งตาย ลักษณะลำตัวสีแดง หัวสีขาวออกเหลือง จะระบาดในช่วงฤดูฝน การป้องกัน หมั่นสำรวจแปลงปลูก ทำความสะอาดใต้ทรงพุ่ม พบการระบาดให้ตัดทิ้งและฉีดพ่นสารกำจัด 1-4-7 ครั้ง/วัน






วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว

การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว


                รวี  เสรฐภักดี มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน กล่าวถึงการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาวด้วยเอทธีฟอน

                จากการทดลองเบื้องต้นใช้เอทธีฟอนความเข้มข้น 0 12.5 25 50 100 และ 200 ppm (อัตรา 0 0.25 0.50 1.0 2.0 และ 4.0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) เพื่อปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว ปรากฏว่าระยะกลีบดอกโรยนั้นตอบสนองต่อการใช้เอทธีฟอน 200 ppm (อัตรา 4.0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) ได้ดีที่สุด และในระยะดอกบานตอบสนองต่อระดับ 100 และ 200 ppm(อัตรา 2.0 และ 4.0 ซีซี/น้ำ  20 ลิตร) ค่อนข้างสูง ส่วนขนาดผลที่โตกว่า 1 ซม่. นั้นในทุกความเข้มข้นที่ใช้ยังไม่สามารถปลิดได้การทดลองต่อมาได้ใช้ความเข้มข้น 0 100 200 300 และ 400 ppm (อัตรา 0 2.0 4.0 6.0 8.0 ซีซี/น้ำ 2 ลิตร) พ่นให้กับดอกและผลอ่อนรวม 3 ระยะคือ ระยะดอกบาน ระยะกลีบดอกโรย และระยะผลอ่อนที่มีขนาดผลไม่เกิน 1 ซม. พบว่าระยะผลอ่อนนั้นตอบสนองต่อการปลิดผลได้ดี แม้ว่าจะใช้เอทธีฟอนเพียง 100 ppm (อัตรา 2  ซีซี/น้ำ 20 ลิตรป เมื่อใช้ความเข้มข้นของเอทธีฟอนสูงขึ้นทำให้สามารถและปลิดผลได้มากขึ้นทั้ง 3 ระยะที่ความเข้มข้นของเอทธีฟอนในระดับ 400 ppm (อัตรา 8.0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) ให้เปอร์เซ็นต์การปลิดผลได้ดีทุกระยะ แต่ก็เป็นสาเหตุให้เกิดความเป็นพิษในพืชได้โดยทำให้ใบร่วงถึง 22℅ 


              


              การเตรียมความพร้อมของต้นมะนาวเพื่อใช้สำหรับชักนำให้สามารถออกดอก และติดผลของการผลิตนอกฤดูนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้หลายๆ ลักษณะเข้ามาร่วมกันการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วถึงด้านการออกดอกของต้นที่มีในฤดูกาลใหญ่อยู่ 2 ระยะ รวมทั้งกิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถ ออกดอกได้อีกด้วย ดังนั้น การที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้อง กำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออก ทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไป ได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ภายหลังจากตัดแต่งแล้ว ดอกและผลอ่อน ที่เหลือก็สามารถใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮอร์โมนมาช่วยได้ หรืออาจกระทำการพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อกำจัดดอกและผลอ่อนให้หลุดร่วง ไปก่อนแล้วจึงดำเนินการตัดแต่งกิ่งในภายหลัง พร้อมทั้งกำจัดผลที่ยังเหลือตกค้างอยู่ออกไป การตัดแต่งกิ่งเพื่อกำจัดดอก และผลอ่อนพร้อมทั้งการกระตุ้นให้เกิดยอดใหม่นั้น ไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. หากตัดลึกมากแล้วจะเกิดกิ่ง
กระโดงแทน ทำให้เสียโอกาสการออกดอกไป อีกทั้งเป็นการทำให้มะนาวออกดอกและติดผลอย่างสม่ำเสมอ  



วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมการปลูกมะนาวในวงบ่อซิเมนต์และปลูกลงพื้นดิน







            การเตรียมการปลูกมะนาวในวงบ่อซิเมนต์และปลูกลงพื้้นดิน



 ข้อควรคำนึงถึงก่อนการปลูกมะนาว


  1. สถานที่ปลูก หมายถึงการเลือกสถานที่ปลูกที่มีความจำเป็นมากเนื่องจากต้องคำนึงถึงการดูแลในอนาคต เช่นลักษณะของดิน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า การเดินทาง
  2. วิธีการปลูก ใส่วงบ่อซิเมนต์ หรือปลูกลงดิน
  3. กิ่งพันธ์ที่ใช้ปลูก(มะนาวแป้นพิจิตร1,ตาฮิติ ฯ)
  4. แหล่งที่มาของกิ่งพันธุ์ ควรมาจากแหล่งที่มีควมเชื่อถือได้ มีตัวตนจริง ไม่ควรเป็นพวกรถเร่ขายหรือตามตลาดนัดซึ่งไม่รู้แหล่งที่มา
  5. ขั้นตอนการปลูก ขั้นตอนการปลูกเป็นปัจจัยที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่งซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างชัดเจน
  6. การดูแล และการทำให้มะนาวออกดอกพร้อมทั้งติดผลจนถึงการเก็บผลผลิต


  • การจัดหาสถานที่ปลูก 

          สถานที่ปลูกควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ การเดินทางสะดวก ไม่มีโรคและแมลงที่เป็นอันตรายต่อมะนาวระบาด และพื้นที่ควรเป็นพื้นที่ราบไม่ลาดเอียงจนเกินไปจะทำให้มีปัญหาเรื่องการให้น้ำ การพังทะลายและการกัดเซาะของดิน ต้องมีการระบายน้ำที่ดี (น้ำไม่ท่วมขัง) กรณีปลูกลงพื้นดิน ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร แต่ถ้าปลูกในวงบ่อซิเมนต์ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดิน


  • การเตรียมดินแบบปลูกในวงบ่อซิเมนต์

  1. ต้องทำการปรับพื้นที่ให้เสมอหรือลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้การระบายน้ำได้ดี
  2. ทำการกำหนดระยะปลูกให้ชัดเจนและง่ายต่อการจัดการด้านต่างๆภายหลังเช่นการจัดการระบบน้ำ การกำจัดวัชพืช ฯ กำหนดระยะปลูก เช่น 2x3 3x3 3x4 4x4 (วัดจากกึ่งกลางบ่อ) ตามความเหมาะสมของพื้นที่และการไว้ทรงพุ่มของมะนาว อีกทั้งต้องคำนึงถึงการเข้าถึงของเครื่องจักรด้วย
  3. วงบ่อซิเมนต์ที่ใช้ควรมีขนาดประมาณ 100 cm สูง 50 cm หรือขนาด 80 cm สูง 30 cm สองวงวางซ้อนกัน จะทำให้ได้ปริมาณดินที่มากขึ้นส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของมะนาวอีกทั้งทำให้อายุของมะนาวยืนยาวด้วย การวางวงบ่อควรวางไม่ให้เอียงข้างไดข้างหนึ่งปรับให้สมดุล พื้นของวงบ่อไม่ควรยาขอบหรืออุดรอยรั่วบริเวณขอบ เนื่องจากมีไว้สำหรับระบายน้ำไม่ให้แฉะเกินไปในฤดูฝน  ราคาวงบ่อขนาด 100x50 ประมาณ 160-190 บาท ฝา ราคา120-140 บาท ถ้าขนาด 80x30 ราคา 80-100 บาท ฝา 80-90 บาท แล้วแต่พื้นที่ 
  4. ส่วนผสมดินที่ใช้ปลูกมะนาว
    • ดินร่วน
    • ขี้วัวแห้ง หรือขี้วัวที่ผ่านการหมักย่อยแล้ว
    • แกลบดิบ
    • กาบมะพร้าวสับหรือขุยมะพร้าว
    • ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15,16-16-16 
    อัตราส่วน ขึ้นอยู่กับชนิดและความสมบูรณ์ของดินครับ..อัตราส่วน 3:3:1:1 + 50 กรัม, 3:2:1:1+ 50 กรัม หรือ 3:3:2:0 + 50 กรัม 3:2:2:0+50 กรัม ผสมให้เข้ากันถ้าขี้วัวไม่ได้หมักก่อน ควรรดน้ำทิ้งใวประมาณ 3-5 วัน เพื่อหมักดิน ลดการร้อนที่เกิดจากการย่อยสลายของขี้วัว ถ้าปลูกในวงบ่อซิเมนต์ควรใส่ดินให้พูนเลยครับ เดี๋ยวก็ยุบเสมอขอบพอดีครับ



  • การเตรียมดินแบบปลูกลงพื้นดิน

  1. ต้องทำการปรับพื้นที่ให้เสมอหรือลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้การระบายน้ำได้ดี
  2. ทำการกำหนดระยะปลูกให้ชัดเจนและง่ายต่อการจัดการด้านต่างๆภายหลังเช่นการจัดการระบบน้ำ การกำจัดวัชพืช เป็นต้น การกำหนดระยะปลูก เช่น 2x3 3x3 3x4 4x4 (วัดจากกึ่งต้น) ตามความเหมาะสมของพื้นที่และการไว้ทรงพุ่มของมะนาว อีกทั้งต้องคำนึงถึงการเข้าถึงของเครื่องจักรด้วย
  3. ทำการยกร่อง โดยใช้รถไถผานสามยกพนมเข้าหากัน ก่อนทำการยกร่องต้องทำการไถพรวนก่อน หนึ่งรอบเพื่อกำจัดวัชพืชหลังจากนั้นให้กำหนดตำแหน่งร่อง จากนั้นให้ใส่ปุ่๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แกรบดิบ ปุ๋ยเคมี 15-15-15 บวกกับปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรดของดิน ใส่บริเวณที่เรากำหนดร่องนั่นแหละครับ จากนั้นจึงให้รถไถยกร่องได้เลยครับ ถ้ามีเปลือกถั่วชนิดต่างๆ ก็ใสได้เลยครับจะดีมากเพราะมีไนโตรเจนสูง บางท่านมีเวลาเตรียมการล่วงหน้าควรปลูกปอเทืองหรือถั่วชนิดต่างๆที่มีการส่งเสริมหรือถ้าหาพันธุ์ไม่ได้ไห้ใช้ถั่วเหลือง ถั่วเขียวก็ได้ครับ หว่านให้ทั่วไม่ต้องแน่นมาก ทิ้งไว้ให้ออกดกแล้วไถกลบทิ้งไว้ให้เน่า หลังจากนั้นไถพรวนอีกครั้งก่อนยกร่อง

  ระยะการปลูก

            ปกติระยะการปลูกขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ปลูก จะนิยมการใว้ทรงพุ่มแบบไหน แต่ให้ผมแนะนำระยะที่เหมาะสมประมาณ 4*4 เมตร หรือ 4*3 เมตร ระยะแถว 4 เมตร ระยะต้น 3 เมตร  (วัดตรงกึงกลางต้นนะครับ) แค่นี้ทรงพุ่มก็เริ่มชนกันแล้วครับ ถ้าชิดกว่านี้แล้วไม่สามารถควบคุมทรงพุ่มได้แล้วก็งานเข้าแน่ครับ ทั้งลำบากในการเดินฉีดยา การเก็บผลผลิต การเข้าถึงของเครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ อีกอย่างเมื่อทรงพุ่มชนกันแล้วจะทำให้ผลผลิตบริเวณที่แสงเข้าไม่ถึงก็จะลดลง โรคและแมลงก็จะตามมาครับ

  • การเตรียมต้นพันธุ์

          ก่อนนำต้นมะนาวออกปลูก ต้องแน่ใจก่อนว่ารากของมะนาวสมบูรณ์ ผ่านการชำมาแล้วกี่วัน ปกติแล้วมะนาวที่เป็นกิ่งตอนและลงชำถุงแล้วรากจะสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 20-30 วันหรือสังเกตุจากรากที่ทะลุออกมาจากถุงก็ได้ จากนั้นก่อนปลูกประมาณ 7-10 ควรเริ่มนำต้นมะนาวออกแดด เริ่มจากแดดรำไร จนถึงกลางแจ้ง จะทำให้มะนาวที่ปลูกมีความแข็งแรงไม่ต้องทำร่มหลังปลูก อัตราการรอดสูง

  • การปลูกมะนาว

  1. การปลูกมะนาวลงพื้น แบบยกร่องหรือไม่ยกร่อง ไม่ต้องขุดดินลึกครับ ประมาณ 1-2 หน้าจอบพอหรือใช้ผานพรวน ของรถไถผสมได้เลยครับ
  2. ความลึกของการลงปลูก ขุดหลุมพอประมาณให้กลบดินแล้วสูงกว่าดินเดิมประมาณ 2 นิ้ว ถ้าเป็นกิ่งให้กลบดินสูงประมาณ 3 นิ้ว 
          การปลูกไม่ต้องขุดหลุมลึกกมากเพราะมะนาวเป็นพืชรากลอย หากินไม่ลึกครับ อีกอย่างถ้าปลูกลึกเกินไปจะมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ รากเน่า ตามมาครับ อย่าลืมกดให้แน่นและปักไม่ฃ้กันโยกนะครับ การปลูกควรเลือกเวลาที่ไม่ร้อนจัดเวลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเย็น เนื่องจากการปลูกมะนาวในช่วงเย็นที่อากาศไม่ร้อนมากจะช้วยลดการคลายน้ำของต้นมะนาวและมีเวลาให้มะนาวตั้งตัวตอนกลางคืนด้วย  อย่าลืมรดน้ำให้ชุ่มคลุมด้วยฟางหรือเศษหญ้าก็ได้ เป็นอันเสร็จพิธี

  • การให้น้ำมะนาว
        ปลูกใหม่ควรลดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งแรกรดให้เปียกชุ่มเลยเพื่อให้ลดช่องอากาศ ระหว่างรากกับดิน ถ้ามีช่องว่างรากของมานาวจะเดินช้ากว่าปกติ ครั้งต่อไปไห้ลดไม่ต้องเยอะจนแฉะ จะทำให้รากเน่าครับ..การให้น้ำมะนาวช่วงแรกจะต้องสังเกตุการแห้งของผิวดินเป็นหลักหรือประมาณ 1-2 วัน แล้วแต่ความร้อนของอากาศ ระบบน้ำจะใช้แบบมินิสปริงเกอร์ที่มีรัศมีการจ่ายน้ำให้อยู่ในบ่อ ที่แนะนำจะใช้แบบหัวจานบิน ติดแบบกลับหัว หรือแบบออกข้างก็ได้เหมือนกันครับ



 ที่สวนใช้ทั้งแบบที่ออกด้านข้างและใช้แบบเหมือนหัวน้ำหยดแต่แรงกว่า(ต้องโมนิดหน่อย)







การเลือกหัวสปริงเกอร์แล้วแต่สะดวกอาจไม่เหมือนผมก็ได้แบบใหนก็ได้แล้วแต่จะหาได้เอาที่เหมาะสมแล้วกันครับ อาจใช้วาร์วแบบมินิช่วยในการปรับแรงดันก็ได้ครับ
















เป็นอุปกรณ์ตั้งเวลารดน้ำครับ..ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงงานได้มากครับ..ทำแบบง่ายๆครับไม่สวยเท่าไร พอใช้ได้ ตั้งเวลาทุก 17.00 น.ทุกวัน วันละ 15 นาที

  การให้ปุ๋ย

           ช่วงแรกของการปลูก ไม่ควรให้ปุ๋ยเลย เนื่องจากรากพืชยังไม่พร้อมที่จะรับ และอาจทำให้รากเน่าได้ครับ ควรทิ้งระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ให้ต้นมะนาวตั้งตัวได้ก่อนถึงเริ่มใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ย 15-15-15 + 46-0-0 อัตรส่วน 1:2 ปริมาณ 25 กรัมหรือปุ๋ยเกล็ด 25-7-7 ฉีดพ่น 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับการให้ปุ๋ยทางดิน ทุก 15-20 วัน