สารเคมีที่ใช้ในสวนมะนาว
ชื่อสามัญ: อะบาเม็กติน (abamectin) 1.8% w/v EC
ประโยชน์: ใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชต่างๆ ดังนี้ หนอนม้วนใบ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนซอนใบส้ม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรสนิม ไรแดง แมลงหวี่ขาว
พืชที่ใช้: พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก นาข้าว
วิธีใช้: ใช้ในอัตรา 30-50 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร (ประมาณ 3-5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปีบ)
ประโยชน์: ใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชต่างๆ ดังนี้ หนอนม้วนใบ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนซอนใบส้ม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรสนิม ไรแดง แมลงหวี่ขาว
พืชที่ใช้: พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก นาข้าว
วิธีใช้: ใช้ในอัตรา 30-50 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร (ประมาณ 3-5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปีบ)
ส้ม,มะนาว,ส้มโอ
1. ใช้อัตรา 3-5 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัด หนอนชอนใบส้ม หนอนปะกบใบส้ม
2. ใช้อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ
ผักต่าง ๆ เช่น ผักตระกูลกะหล่ำ คะน้า พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว แตงโม ฯลฯ
1.ใช้อัตรา 10-15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ แมลงวันหนอนชอนใบ
2.ใช้อัตรา 20-60 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดหนอนใยผัก (ควรใช้อัตราต่ำในพื้นที่ที่หนอนยังไม่ดื้อยา)
ข้าว
1.ใช้อัตรา 20-40 ซีซี/ไร่ เพื่อกำจัดหนอนม้วนใบข้าว
2.ใช้อัตรา 20 ซีซี/ไร่ เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟข้าว
มะม่วง
ใช้อัตรา 5-10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ในระยะแตกใบอ่อน ระยะแทงช่อดอก และระยะติดผลอ่อน
กล้วยไม้
ใช้อัตรา 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟกล้วยไม้
มะลิใช้อัตรา 10-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ
ชื่อทางเคมี :
- N-[1-[(6-Chloro-3-pyridyl)methyl]-4,5-dihydroimidazole-2-yl]nitramide
- (E)-1-(6-Chloro-3-pyridylmethyl)-N-nitroimidazolidin-2-ylidneneamine
- (E)-1-[(6-Chloro-3-pyridyl)methyl]-N-nitro-2-imidazolidinimine
สูตรเคมี :
C9H10ClN5O2
สูตรโครงสร้างทางเคมี :
กลไกการออกฤทธิ์/การเกิดพิษ
อิมิดาโคลพริด มีโครงสร้างเป็นอนุพันธ์ของนิโคทีน (nicotine) โดยสารนี้จัดอยู่ในสารฆ่าแมลงกลุ่มคลอโรนิโคทินิล (chloronicotinyl insecticides) แมลงสามารถรับสารฆ่าแมลงนี้ได้โดยการสัมผัสหรือการกิน ซึ่งอิมิดาโคลพริดจะไปออกฤทธิ์โดยจับที่ตัวรับนิโคทินิค อะเซทิลโคลีน (nicotinic acetylcholine receptor) และทำให้มีการสะสมสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนมากขึ้น ซึ่งผลโดยรวมคือการรบกวนระบบสื่อประสาทในแมลง แมลงที่ได้รับสารฆ่าแมลงนี้จะเฉื่อยชา อ่อนแรง หยุดกินอาหาร และตายในที่สุด สารฆ่าแมลงนี้มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นต่ำกว่าแมลง ทำให้มีผลจำเพาะเจาะจงต่อแมลงมากกว่า และการที่การออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มอื่น ทำให้สามารถใช้กำจัดแมลงที่ดื้อต่อสารฆ่าแมลงกลุ่มอื่นได้
ประโยชน์
1.เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ฝ้าย ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว มะเขือเปราะ พริก หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียม และถั่วเหลือง เป็นต้น เพื่อกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยจักจั่น-ปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เพลี้ยอ่อนฝ้าย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยไฟพริก แมลงหวี่ขาวยาสูบ หนอนชอนใบส้ม เต่าทองบางชนิด และปลวก เป็นต้น
2. เพื่อใช้สำหรับฆ่าหมัดในสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และแมว เป็นต้น โดยมียาเตรียมในรูปแบบพิเศษโดยเฉพาะสำหรับทาที่หลังคอ
อาการแสดงและการวินิจฉัย
อาการการเกิดพิษ ได้แก่ เหนื่อยล้า เซื่องซึม กระตุก เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ทำให้หายใจขัด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการรักษา
1. ให้รีบนำตัวผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้สารฆ่าแมลง ไปยังที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ ถ้าหายใจลำบาก ให้ออกซิเจน
2. ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างออกด้วยสบู่และน้ำ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที จนสะอาด
3. ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง
4. ถ้าหกรด หรือเปื้อนบนเสื้อผ้า ให้อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที
5. ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1-2 แก้ว แล้วกระตุ้นให้อาเจียนโดยการล้วงคอ หรือดื่มน้ำเกลือเข้มข้น (เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำอุ่น 1 แก้ว) ห้ามดื่มนม หรือให้เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์แก่ผู้ป่วย แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมฉลากและภาชนะบรรจุ
6. สำหรับแพทย์ ให้ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก หากผู้ป่วยกลืนกินอิมิดาโคลพริดเข้าไปให้ล้างท้อง และรักษาตามอาการ
ข้อควรระวัง
1. ขณะผสม ควรสวมถุงมือและหน้ากากเพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารฆ่าแมลง และขณะพ่นควรอยู่เหนือลม ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก หรือปาก หรือสัมผัสผิวหนัง
2. ล้างมือและหน้าให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ หลังจากใช้สารฆ่าแมลงเสร็จแล้ว ต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า
3. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วลงในแม่น้ำ คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ ควรกลั้วล้างภาชนะที่ใช้หมดแล้วด้วยน้ำ 3 ครั้ง ก่อนทำลายหรือฝังดิน ห้ามเผาไฟ
4. อิมิดาโคลพริด มีรายงานว่ามีพิษต่อผึ้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขณะพืชมีดอกบาน และไม่ควรใช้ใกล้เขตที่มีอุตสากรรมการเลี้ยงผึ้ง
2. ล้างมือและหน้าให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ หลังจากใช้สารฆ่าแมลงเสร็จแล้ว ต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า
3. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วลงในแม่น้ำ คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ ควรกลั้วล้างภาชนะที่ใช้หมดแล้วด้วยน้ำ 3 ครั้ง ก่อนทำลายหรือฝังดิน ห้ามเผาไฟ
4. อิมิดาโคลพริด มีรายงานว่ามีพิษต่อผึ้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขณะพืชมีดอกบาน และไม่ควรใช้ใกล้เขตที่มีอุตสากรรมการเลี้ยงผึ้ง
- แคงเกอร์เอ็ก (สเตรปโตมัยซิน,คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์, คอปเปอร์ออกไซด์)
สาเหตุของโรค | โรคแคงเกอร์เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas sp. |
ลักษณะอาการ |
รอยแผลมีลักษณะนูนฟูคล้ายฟองน้ำ เมื่อแก่รอยแผลสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแผลเกิดเดี่ยวๆ ลักษณะกลม บริเวณแผลดูคล้ายเป็นหลุมลึกลงไปในผล เป็นสะเก็ดรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งแผลจะเชื่อมติดกันจนมีขนาดใหญ่อาจจะทำให้เกิดอาการผลแตกตามขวางจากขอบแผล เมื่อส้มได้รับน้ำมากขึ้น
|
ระยะที่พบ | ระยะเก็บเกี่ยว |
ผลต่อราคาจำหน่าย | มีผลต่อราคาจำหน่าย ส่งออกไม่ได้ |
รายละเอียดอื่นๆ |
มักพบในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม-กันยายน เชื้อเข้าทำลายผลอ่อนที่มีอายุประมาณ 90-120 วัน
|
การป้องกันกำจัด |
ข้อมูลจาก : เปรมปรี,2544แคงเกอร์เอ็ก
หากพบการระบาดรุนแรง ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออก ทำลายและพ่นด้วยคอปเปอร์ออกไซด์ หรือสารปฏิชีวนะในกลุ่มสเตรปโตมัยซิน |
คุณสมบัติเด่น:
สารคอปเปอร์ป้องกันกำจัดโรคพืชสูตรทนฝนคุณภาพสูง จากประเทศเยอรมัน ประกอบด้วยเนื้อทองแดงบริสุทธิ์อยู่มากถึง 50% จึงใช้ป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ และโรคพืชอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ได้ดีเยี่ยม ฟังกูรานจับติดใบพืชได้ดี ทนการชะล้างของฝน เพราะ อยู่ในรูปไมโครไนซ์ (Micronized Copper Hydroxide) มีอนุภาคเป็นผลึกรูปเข็ม ที่เล็กละเอียดมาก ( 2-4 ไมครอน) จึงสามารถแผ่กระจายครอบคลุมพื้นที่ผิวใบพืชได้มากกว่าสารคอปเปอร์อื่น ๆ จึงออกฤทธิ์กำจัดโรคพืชได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช อัตราใช้น้อย แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคสูง ละลายน้ำง่าย ไม่อุดตันหัวฉีด และไม่กัดโลหะ หรืออุปกรณ์พ่นสารเคมี
ประโยชน์ และวิธีใช้ :
ส้ม,มะนาว,ส้มโอ |
ใช้อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคแคงเคอร์ โรคสแคป โรคเมลาโนส โรคแอนแทรคโนส (โรคกิ่งแห้ง)
|
ทุเรียน เงาะ |
ใช้อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคใบติด โรคใบจุดสาหร่าย
|
องุ่น
|
1.ใช้อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้า
2.ใช้อัตรา 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคเถาแห้ง และผลเน่าด 3.ใช้อัตรา 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อล้างต้นหลังตัดแต่งกิ่ง |
พืชตระกูลแตง |
ใช้อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุดเหลี่ยมแบคทีเรีย โรคเหี่ยวแบคทีเรีย
|
ผักตระกูลกะหล่ำ
|
ใช้อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โรคเน่าเละแบคทีเรีย โรคใบแห้ง หรือ โรคเน่าดำแบคทีเรีย
|
พริก |
ใช้อัตรา 10-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคผลเน่า โรคเน่าเปียก โรคแอนแทรคโนส (โรคกุ้งแห้ง) |
มันฝรั่ง มะเขือเทศ |
ใช้อัตรา 10-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ และโรคใบจุด |
หอม กระเทียม หอมหัวใหญ่ |
ใช้อัตรา 10-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันกำจัดโรคใบจุดสีม่วง โรคราน้ำค้าง โรคแอนแทรคโนส |
พืช | โรค | เชื้อสาเหตุ | อัตราการใช้ | วิธีการใช้ |
กกจันทบูรณ์ | ลำต้นเน่า | Phytophthora cyperi | 12 กรัม/น้ำ | พ่นสารเคมีในระยะต้นกกสูงประมาณ1เมตร |
(Ideta)Ito. | 20 ลิตร | หรืออายุกกประมาณ 1 เดือน จากนั้นพ่น | ||
ระยะห่างกันประมาณ 3 สัปดาห์ | ||||
กล้วยไม้ | เน่าเข้าไส้หรือ | Phytophthora palmivora | 40 กรัม/น้ำ | พ่นให้ทั่วต้นกล้วยไม้ |
เน่าดำ | (Butl.)Butler. | 20 ลิตร | ||
ทุเรียน | รากและ | Phytophthora pulmivora | 50-60 กรัม/ | ใช้ทาบริเวณแผล ซึ่งก่อนทาได้ถากเปลือก |
โคนเน่า | (Butler)Butler | น้ำ 1 ลิตร | ออกแล้วบางๆจนถึงเนื้อดีที่อยู่บริเวณรอบๆ | |
เพื่อให้การดูดซึมดีขึ้น | ||||
ป่าน | ต้นเน่า | Pythium aphanidermatum | 10 กรัม/น้ำ | พ่นที่ใบเพื่อป้องกันการระบาดของโรค แต่ |
ศรนารายณ์ | (E son) Fitze | 20 ลิตร | ไม่สามารถรักษาต้นที่เป็นโรคแล้วได้ | |
ปอแก้วคิวบา | เน่าคอดิน | Phytophthora nicotianae | 7 กรัม/เมล็ด | ใช้คลุกเมล็ดก่อนปลูก |
B. de Hann var.parasitica | 1 ก.ก. | |||
(Dast.)Waterh. และ | ||||
Rhizoctonia solani Kuehn | ||||
เผือก | ใบไหม้หรือ | Phytophthora | 2-3 กรัมต่อ | หยอดลงไปที่โคนต้นจะสามารถป้องกันได้ |
ใบจุดตาเสือ | colocasiae Rac. | ต้น | ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป | |
สับปะรด | ยอดเน่าหรือ | Phytophthora parasitica | 20-40 กรัม/ | จุ่มหน่อพันธุ์ก่อนปลูก หลังจากปลูกป้องกัน |
ต้นเน่า | Dastur. | น้ำ 20 ลิตร | โดยการพ่นที่ยอดทุกๆ 2 เดือน |
พืช | โรค | เชื้อสาเหตุ | อัตราการใช้ | |
ส้มเขียวหวาน | รากและโคนเน่า | Phytophthora parasitica | 80-100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร | |
มะนาว | Dastur. | 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 2 ตารางเมตร |
รดดินใช้สำหรับรากเน่า
ใช้ทาแผลเน่าที่ถากเปลือกออกบางๆ
ให้เห็นขอบเขตแผล
3 ความคิดเห็น:
สวัสดีครับ..ถ้าหาซื้อยาตัวไหนไม่ได้ที่สวนมีนะครับ..พอดีซื้อมาเป็นลัง..ราคาจะถูกกว่าครับ..สามารถแบ่งขายให้ครับ
หา ยา แคงเคอร์เอ๊กช์ พอมีอีกมั้ยครับ
เบอร์ผม 0818970863
แสดงความคิดเห็น