วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

แมลงศัตรูพืชในมะนาว

เพลี้ยไฟ



เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน

     เพลี้ยไฟปกติจะระบาดหนักในช่วงอากาศร้อนชื้นหรือช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝน เป็นหลัก วงจรชีวิตตั้งแต่ไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ20-30 วัน ระยะไข่ถึงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ก็เป็นตัวอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของพืชได้โดยวิธีเขี่ยและดูด (การเขี่ยทำให้ผลเป็นแผลตัวเต็มวัยเพศเมีย 1ตัว สามารถวางไข่ได้ 100-500 ฟอง ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ และสามารถวางไขได้เองโดยไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ ตัวเมียจะวางไข่ภายในเนื้อเยื่อบริเวณด้านบนของใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน

    การระบาดในมะนาว

             ความเสียหายที่เกิดจากการเข่้าทำลายของเพลี้ยไฟนอกจากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนแล้ว ผลอ่อนก็ยังพบการเข้าระบาดเหมือนกัน ทั้งนี้เราไม่สังเกตุเห็นเนื่องจาก ขนาดของผลที่เล็กมากจึงไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนนัก แต่เมื่อขนาดของผลเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะยิ่งชัดเจนมากเท่านั้น

      การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

          จะเน้นเชิงการควบคุมปริมาณประชากรเป็นหลักโดยสังเกตปริมาณการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในช่วงเวลาของการเริ่มระบาด หากพบว่ามีปริมาณของเพลี้ยไฟ ในช่วงของการเริ่มต้นการระบาดจำนวน 1ตัว/1ใบพืช หรือ 1ตัว/ยอด ก็ให้ใช้หลักการป้องกันการเพิ่มปริมาณประชากรทันที โดยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อิมิดาคลอพริค 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มาลาไทออน (มาลาไธออน 83% อีซี) อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บวก  "สารชีวภัณฑ์"  เพื่อกำจัดไข่  การกำจัดทั้งตัวอ่อน ตัวเต็มวัย และไข่ จะทำให้ทั้งเพลี้ยไฟสูญพันธุ์
โดยสาเหตุที่เพลี้ยไฟมีขนาดลำตัวเล็ก และมีวงจรชีวิตสั้นจึงควรเน้นเครื่องพ่นที่มีขนาดละอองยาเล็ก เพื่อให้ละอองยาทะลุทุลวงทรงพุ่มได้ดี และควรฉีดพ่นครั้งที่ และครั้งที่ห่างกัน 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดหนักอาจจำเป็นต้องฉีดพ่น 3-4 ครั้ง ห่างกันทุก 5-7 วัน จึงจะสามารถควบคุมปริมาณประชากรเพลี้ยไฟได้ดีแน่นอน รวมทั้งแมลงศัตรูพืชทุกชนิด เช่น
เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอน ฯลฯ


                        



หนอนชอนใบ

หนอนชอนใบ ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนชอนใบ ลัษณะอาการ ผิวใบเป็นรอยทางเดินของหนอนแบบไม่มีทิศทาง ใบที่ถุกทำลาย มีลักษณะใบหยิก ผิดรูป ถ้าเป็นใบอ่อนจะม้วนงอ สามารถป้องกันและแก้ไขโดยใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่น ทุก 4-7 วัน จนกว่าการระบาดจะหมดไป เคมีประเภท อะบาเม็กติน ไม่ควรใช้คาร์โบซัลแฟน และคลอร์ไพริฟอส มีพิษตกค้างเยอะมาก ไม่ควรใช้กับไม้ผลที่ไกล้เก็บเกียว นะครับ..


                                    

                                     

                                     

ภัย..จากหนอนเจาะลำต้น 

หนอนเจาะลำต้น ชื่อจริง "หนอนเจาะลำต้นกาแฟ" ระบาดในพืชอาศัย กาแฟ ลำใย ส้ม มะนาว เป็นต้น ความเสียหาย เจาะกัดกินภายในกิ่ง ทำให้กิ่งแห้งตาย ลักษณะลำตัวสีแดง หัวสีขาวออกเหลือง จะระบาดในช่วงฤดูฝน การป้องกัน หมั่นสำรวจแปลงปลูก ทำความสะอาดใต้ทรงพุ่ม พบการระบาดให้ตัดทิ้งและฉีดพ่นสารกำจัด 1-4-7 ครั้ง/วัน






วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว

การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว


                รวี  เสรฐภักดี มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน กล่าวถึงการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาวด้วยเอทธีฟอน

                จากการทดลองเบื้องต้นใช้เอทธีฟอนความเข้มข้น 0 12.5 25 50 100 และ 200 ppm (อัตรา 0 0.25 0.50 1.0 2.0 และ 4.0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) เพื่อปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว ปรากฏว่าระยะกลีบดอกโรยนั้นตอบสนองต่อการใช้เอทธีฟอน 200 ppm (อัตรา 4.0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) ได้ดีที่สุด และในระยะดอกบานตอบสนองต่อระดับ 100 และ 200 ppm(อัตรา 2.0 และ 4.0 ซีซี/น้ำ  20 ลิตร) ค่อนข้างสูง ส่วนขนาดผลที่โตกว่า 1 ซม่. นั้นในทุกความเข้มข้นที่ใช้ยังไม่สามารถปลิดได้การทดลองต่อมาได้ใช้ความเข้มข้น 0 100 200 300 และ 400 ppm (อัตรา 0 2.0 4.0 6.0 8.0 ซีซี/น้ำ 2 ลิตร) พ่นให้กับดอกและผลอ่อนรวม 3 ระยะคือ ระยะดอกบาน ระยะกลีบดอกโรย และระยะผลอ่อนที่มีขนาดผลไม่เกิน 1 ซม. พบว่าระยะผลอ่อนนั้นตอบสนองต่อการปลิดผลได้ดี แม้ว่าจะใช้เอทธีฟอนเพียง 100 ppm (อัตรา 2  ซีซี/น้ำ 20 ลิตรป เมื่อใช้ความเข้มข้นของเอทธีฟอนสูงขึ้นทำให้สามารถและปลิดผลได้มากขึ้นทั้ง 3 ระยะที่ความเข้มข้นของเอทธีฟอนในระดับ 400 ppm (อัตรา 8.0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) ให้เปอร์เซ็นต์การปลิดผลได้ดีทุกระยะ แต่ก็เป็นสาเหตุให้เกิดความเป็นพิษในพืชได้โดยทำให้ใบร่วงถึง 22℅ 


              


              การเตรียมความพร้อมของต้นมะนาวเพื่อใช้สำหรับชักนำให้สามารถออกดอก และติดผลของการผลิตนอกฤดูนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้หลายๆ ลักษณะเข้ามาร่วมกันการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วถึงด้านการออกดอกของต้นที่มีในฤดูกาลใหญ่อยู่ 2 ระยะ รวมทั้งกิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถ ออกดอกได้อีกด้วย ดังนั้น การที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้อง กำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออก ทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไป ได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ภายหลังจากตัดแต่งแล้ว ดอกและผลอ่อน ที่เหลือก็สามารถใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮอร์โมนมาช่วยได้ หรืออาจกระทำการพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อกำจัดดอกและผลอ่อนให้หลุดร่วง ไปก่อนแล้วจึงดำเนินการตัดแต่งกิ่งในภายหลัง พร้อมทั้งกำจัดผลที่ยังเหลือตกค้างอยู่ออกไป การตัดแต่งกิ่งเพื่อกำจัดดอก และผลอ่อนพร้อมทั้งการกระตุ้นให้เกิดยอดใหม่นั้น ไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. หากตัดลึกมากแล้วจะเกิดกิ่ง
กระโดงแทน ทำให้เสียโอกาสการออกดอกไป อีกทั้งเป็นการทำให้มะนาวออกดอกและติดผลอย่างสม่ำเสมอ  



วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมการปลูกมะนาวในวงบ่อซิเมนต์และปลูกลงพื้นดิน







            การเตรียมการปลูกมะนาวในวงบ่อซิเมนต์และปลูกลงพื้้นดิน



 ข้อควรคำนึงถึงก่อนการปลูกมะนาว


  1. สถานที่ปลูก หมายถึงการเลือกสถานที่ปลูกที่มีความจำเป็นมากเนื่องจากต้องคำนึงถึงการดูแลในอนาคต เช่นลักษณะของดิน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า การเดินทาง
  2. วิธีการปลูก ใส่วงบ่อซิเมนต์ หรือปลูกลงดิน
  3. กิ่งพันธ์ที่ใช้ปลูก(มะนาวแป้นพิจิตร1,ตาฮิติ ฯ)
  4. แหล่งที่มาของกิ่งพันธุ์ ควรมาจากแหล่งที่มีควมเชื่อถือได้ มีตัวตนจริง ไม่ควรเป็นพวกรถเร่ขายหรือตามตลาดนัดซึ่งไม่รู้แหล่งที่มา
  5. ขั้นตอนการปลูก ขั้นตอนการปลูกเป็นปัจจัยที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่งซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างชัดเจน
  6. การดูแล และการทำให้มะนาวออกดอกพร้อมทั้งติดผลจนถึงการเก็บผลผลิต


  • การจัดหาสถานที่ปลูก 

          สถานที่ปลูกควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ การเดินทางสะดวก ไม่มีโรคและแมลงที่เป็นอันตรายต่อมะนาวระบาด และพื้นที่ควรเป็นพื้นที่ราบไม่ลาดเอียงจนเกินไปจะทำให้มีปัญหาเรื่องการให้น้ำ การพังทะลายและการกัดเซาะของดิน ต้องมีการระบายน้ำที่ดี (น้ำไม่ท่วมขัง) กรณีปลูกลงพื้นดิน ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร แต่ถ้าปลูกในวงบ่อซิเมนต์ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดิน


  • การเตรียมดินแบบปลูกในวงบ่อซิเมนต์

  1. ต้องทำการปรับพื้นที่ให้เสมอหรือลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้การระบายน้ำได้ดี
  2. ทำการกำหนดระยะปลูกให้ชัดเจนและง่ายต่อการจัดการด้านต่างๆภายหลังเช่นการจัดการระบบน้ำ การกำจัดวัชพืช ฯ กำหนดระยะปลูก เช่น 2x3 3x3 3x4 4x4 (วัดจากกึ่งกลางบ่อ) ตามความเหมาะสมของพื้นที่และการไว้ทรงพุ่มของมะนาว อีกทั้งต้องคำนึงถึงการเข้าถึงของเครื่องจักรด้วย
  3. วงบ่อซิเมนต์ที่ใช้ควรมีขนาดประมาณ 100 cm สูง 50 cm หรือขนาด 80 cm สูง 30 cm สองวงวางซ้อนกัน จะทำให้ได้ปริมาณดินที่มากขึ้นส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของมะนาวอีกทั้งทำให้อายุของมะนาวยืนยาวด้วย การวางวงบ่อควรวางไม่ให้เอียงข้างไดข้างหนึ่งปรับให้สมดุล พื้นของวงบ่อไม่ควรยาขอบหรืออุดรอยรั่วบริเวณขอบ เนื่องจากมีไว้สำหรับระบายน้ำไม่ให้แฉะเกินไปในฤดูฝน  ราคาวงบ่อขนาด 100x50 ประมาณ 160-190 บาท ฝา ราคา120-140 บาท ถ้าขนาด 80x30 ราคา 80-100 บาท ฝา 80-90 บาท แล้วแต่พื้นที่ 
  4. ส่วนผสมดินที่ใช้ปลูกมะนาว
    • ดินร่วน
    • ขี้วัวแห้ง หรือขี้วัวที่ผ่านการหมักย่อยแล้ว
    • แกลบดิบ
    • กาบมะพร้าวสับหรือขุยมะพร้าว
    • ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15,16-16-16 
    อัตราส่วน ขึ้นอยู่กับชนิดและความสมบูรณ์ของดินครับ..อัตราส่วน 3:3:1:1 + 50 กรัม, 3:2:1:1+ 50 กรัม หรือ 3:3:2:0 + 50 กรัม 3:2:2:0+50 กรัม ผสมให้เข้ากันถ้าขี้วัวไม่ได้หมักก่อน ควรรดน้ำทิ้งใวประมาณ 3-5 วัน เพื่อหมักดิน ลดการร้อนที่เกิดจากการย่อยสลายของขี้วัว ถ้าปลูกในวงบ่อซิเมนต์ควรใส่ดินให้พูนเลยครับ เดี๋ยวก็ยุบเสมอขอบพอดีครับ



  • การเตรียมดินแบบปลูกลงพื้นดิน

  1. ต้องทำการปรับพื้นที่ให้เสมอหรือลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้การระบายน้ำได้ดี
  2. ทำการกำหนดระยะปลูกให้ชัดเจนและง่ายต่อการจัดการด้านต่างๆภายหลังเช่นการจัดการระบบน้ำ การกำจัดวัชพืช เป็นต้น การกำหนดระยะปลูก เช่น 2x3 3x3 3x4 4x4 (วัดจากกึ่งต้น) ตามความเหมาะสมของพื้นที่และการไว้ทรงพุ่มของมะนาว อีกทั้งต้องคำนึงถึงการเข้าถึงของเครื่องจักรด้วย
  3. ทำการยกร่อง โดยใช้รถไถผานสามยกพนมเข้าหากัน ก่อนทำการยกร่องต้องทำการไถพรวนก่อน หนึ่งรอบเพื่อกำจัดวัชพืชหลังจากนั้นให้กำหนดตำแหน่งร่อง จากนั้นให้ใส่ปุ่๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แกรบดิบ ปุ๋ยเคมี 15-15-15 บวกกับปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรดของดิน ใส่บริเวณที่เรากำหนดร่องนั่นแหละครับ จากนั้นจึงให้รถไถยกร่องได้เลยครับ ถ้ามีเปลือกถั่วชนิดต่างๆ ก็ใสได้เลยครับจะดีมากเพราะมีไนโตรเจนสูง บางท่านมีเวลาเตรียมการล่วงหน้าควรปลูกปอเทืองหรือถั่วชนิดต่างๆที่มีการส่งเสริมหรือถ้าหาพันธุ์ไม่ได้ไห้ใช้ถั่วเหลือง ถั่วเขียวก็ได้ครับ หว่านให้ทั่วไม่ต้องแน่นมาก ทิ้งไว้ให้ออกดกแล้วไถกลบทิ้งไว้ให้เน่า หลังจากนั้นไถพรวนอีกครั้งก่อนยกร่อง

  ระยะการปลูก

            ปกติระยะการปลูกขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ปลูก จะนิยมการใว้ทรงพุ่มแบบไหน แต่ให้ผมแนะนำระยะที่เหมาะสมประมาณ 4*4 เมตร หรือ 4*3 เมตร ระยะแถว 4 เมตร ระยะต้น 3 เมตร  (วัดตรงกึงกลางต้นนะครับ) แค่นี้ทรงพุ่มก็เริ่มชนกันแล้วครับ ถ้าชิดกว่านี้แล้วไม่สามารถควบคุมทรงพุ่มได้แล้วก็งานเข้าแน่ครับ ทั้งลำบากในการเดินฉีดยา การเก็บผลผลิต การเข้าถึงของเครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ อีกอย่างเมื่อทรงพุ่มชนกันแล้วจะทำให้ผลผลิตบริเวณที่แสงเข้าไม่ถึงก็จะลดลง โรคและแมลงก็จะตามมาครับ

  • การเตรียมต้นพันธุ์

          ก่อนนำต้นมะนาวออกปลูก ต้องแน่ใจก่อนว่ารากของมะนาวสมบูรณ์ ผ่านการชำมาแล้วกี่วัน ปกติแล้วมะนาวที่เป็นกิ่งตอนและลงชำถุงแล้วรากจะสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 20-30 วันหรือสังเกตุจากรากที่ทะลุออกมาจากถุงก็ได้ จากนั้นก่อนปลูกประมาณ 7-10 ควรเริ่มนำต้นมะนาวออกแดด เริ่มจากแดดรำไร จนถึงกลางแจ้ง จะทำให้มะนาวที่ปลูกมีความแข็งแรงไม่ต้องทำร่มหลังปลูก อัตราการรอดสูง

  • การปลูกมะนาว

  1. การปลูกมะนาวลงพื้น แบบยกร่องหรือไม่ยกร่อง ไม่ต้องขุดดินลึกครับ ประมาณ 1-2 หน้าจอบพอหรือใช้ผานพรวน ของรถไถผสมได้เลยครับ
  2. ความลึกของการลงปลูก ขุดหลุมพอประมาณให้กลบดินแล้วสูงกว่าดินเดิมประมาณ 2 นิ้ว ถ้าเป็นกิ่งให้กลบดินสูงประมาณ 3 นิ้ว 
          การปลูกไม่ต้องขุดหลุมลึกกมากเพราะมะนาวเป็นพืชรากลอย หากินไม่ลึกครับ อีกอย่างถ้าปลูกลึกเกินไปจะมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ รากเน่า ตามมาครับ อย่าลืมกดให้แน่นและปักไม่ฃ้กันโยกนะครับ การปลูกควรเลือกเวลาที่ไม่ร้อนจัดเวลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเย็น เนื่องจากการปลูกมะนาวในช่วงเย็นที่อากาศไม่ร้อนมากจะช้วยลดการคลายน้ำของต้นมะนาวและมีเวลาให้มะนาวตั้งตัวตอนกลางคืนด้วย  อย่าลืมรดน้ำให้ชุ่มคลุมด้วยฟางหรือเศษหญ้าก็ได้ เป็นอันเสร็จพิธี

  • การให้น้ำมะนาว
        ปลูกใหม่ควรลดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งแรกรดให้เปียกชุ่มเลยเพื่อให้ลดช่องอากาศ ระหว่างรากกับดิน ถ้ามีช่องว่างรากของมานาวจะเดินช้ากว่าปกติ ครั้งต่อไปไห้ลดไม่ต้องเยอะจนแฉะ จะทำให้รากเน่าครับ..การให้น้ำมะนาวช่วงแรกจะต้องสังเกตุการแห้งของผิวดินเป็นหลักหรือประมาณ 1-2 วัน แล้วแต่ความร้อนของอากาศ ระบบน้ำจะใช้แบบมินิสปริงเกอร์ที่มีรัศมีการจ่ายน้ำให้อยู่ในบ่อ ที่แนะนำจะใช้แบบหัวจานบิน ติดแบบกลับหัว หรือแบบออกข้างก็ได้เหมือนกันครับ



 ที่สวนใช้ทั้งแบบที่ออกด้านข้างและใช้แบบเหมือนหัวน้ำหยดแต่แรงกว่า(ต้องโมนิดหน่อย)







การเลือกหัวสปริงเกอร์แล้วแต่สะดวกอาจไม่เหมือนผมก็ได้แบบใหนก็ได้แล้วแต่จะหาได้เอาที่เหมาะสมแล้วกันครับ อาจใช้วาร์วแบบมินิช่วยในการปรับแรงดันก็ได้ครับ
















เป็นอุปกรณ์ตั้งเวลารดน้ำครับ..ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงงานได้มากครับ..ทำแบบง่ายๆครับไม่สวยเท่าไร พอใช้ได้ ตั้งเวลาทุก 17.00 น.ทุกวัน วันละ 15 นาที

  การให้ปุ๋ย

           ช่วงแรกของการปลูก ไม่ควรให้ปุ๋ยเลย เนื่องจากรากพืชยังไม่พร้อมที่จะรับ และอาจทำให้รากเน่าได้ครับ ควรทิ้งระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ให้ต้นมะนาวตั้งตัวได้ก่อนถึงเริ่มใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ย 15-15-15 + 46-0-0 อัตรส่วน 1:2 ปริมาณ 25 กรัมหรือปุ๋ยเกล็ด 25-7-7 ฉีดพ่น 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับการให้ปุ๋ยทางดิน ทุก 15-20 วัน 

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

มะนาว ความเป็นมาของมะนาวแป้นพิจิตร1

มะนาว

มะนาว (อังกฤษlime) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุล ส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย


ลักษณะทั่วไป


ลักษณะของต้นมะนาว
ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 ซม. ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีขนดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาว จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย
มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส
ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง 7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ทว่าเพิ่งได้ทราบเมื่อไม่ช้านานมานี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 2) ก็คือ การส่งเสริมโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักขายโรตีมาช้านาน ภายหลังได้มีการค้นพบว่าสาเหตุที่มะนาวสามารถช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เพราะในมะนาวมีไวตามินซีเป็นปริมาณมาก
มะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นสดชื่น เพราะมีส่วนประกอบของสารซิโตรเนลลัล (Citronellal) ซิโครเนลลิล อะซีเตต (Citronellyl Acetate) ไลโมนีน (Limonene) ไลนาลูล (Linalool) เทอร์พีนีออล (Terpeneol) ฯลฯ รวมทั้งมีกรดซิตริค (Citric Acid) กรดมาลิค (Malic Acid) และกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อมๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง

ชื่อของมะนาว

มะนาวก็เหมือนกับส้มทั้งหลาย ที่มีปัญหาในการจัดหมวดหมู่และแยกแยะทางอนุกรมวิธาน สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ที่ค้นเคยของมะนาว ก็คือ Citrus aurantifoliaSwingle หรือ "Citrus aurantifolia" ( Christm & Panz ) Swing." แต่ยังมีชื่ออื่นๆ อีก ดังนี้
C. acida Roxb.
C. lima Lunan
C. medica var. ácida Brandis และ
Limonia aurantifolia Christm
สำหรับชื่อสามัญนั้น ในหลายภาษาก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ในภาษาอังกฤษ เรียก Mexica limeWest Indian lime, และ Key lime หรือเรียก limeสั้นๆ ก็ได้ สาเหตุที่มีหลายชื่ออาจเป็นเพราะเป็นพืชต่างถิ่น จึงไม่มีชื่อดั้งเดิมในภาษานั้นๆ ทำให้เกิดการเสนอชื่ออื่นๆ มาหลายชื่อก็เป็นได้ ส่วนในประเทศไทยยังเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โกรยชะม้า, ปะนอเกล, ปะโหน่งกลยาน, มะนอเกละ, มะเน้าด์เล, มะลิ่ว, ส้มมะนาว, ลีมานีปีห์, หมากฟ้า
อนึ่ง คำว่า เลมอน (lemon) ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผลส้มอีกชนิดหนึ่ง ที่หัวท้ายมน ไม่ใช่ผลกลมอย่างมะนาวที่เรารู้จักกันดี สำหรับ มะนาวเทศ (Triphasia trifolia) นั้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกัน (Rutaceae) กับมะนาว แต่ต่างสกุล ส่วน มะนาวควาย หรือ ส้มซ่า (Citrus medica Linn. Var. Linetta.) เป็นพืชสกุลส้มเช่นเดียวกัน แต่ต่างชนิด (สปีชีส์) กัน
ส้มนาวเป็นภาษาใต้ที่ใช้เรียกมะนาว เช่นเดียวกับทางภาคอีสานเรียกผลไม้บางอย่างว่า"บัก"ในการขึ้นต้น เช่นบักม่วงที่หมายถึงมะม่วง คำว่าส้มในภาษาใต้จะใช้เรียกผลไม้บางชนิดที่มีรสเปรี้ยว อย่าง ส้มนาว ส้มขาม เป็นต้น

[แก้]พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย


  1. มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  2. มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ  และมะนาวแป้นพิจิตร1 ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ภายหลัง  
  3. มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  4. มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน
  5. มะนาวพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ มะนาวฮิตาชิ, มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี, มะนาวพม่า, มะนาวเตี้ย และมะนาวหนัง เป็นต้น 

ลักษณะเฉพาะของมะนาวแป้นพิจิตร1

             มะนาวแป้นพิจิตร1 เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างมะนาวแป้นรำไพ กับมะนาวหอมอุดร และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่ืองจนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นของทั้งสองพันธุ์มา เช่นต้านทางโรคแคงเกอร์ดีกว่า ปลูกง่ายการเจริญเติบโตที่เร็ว ผลผลิตสูง ขนาดของผลโต อีกทั้งสามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือมีเปลือกที่หนากว่า แต่ถ้ามองข้อดีของมะนาวเปลืกหนาคือ สามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเจาะทำลายของแมลงหวีขาวหรือแมลงวนทอง ซึ่งบางพื้นที่มีการระบาดอย่างรุนแรงทำให้ผลผลิดเสียหายจำนวนมาก และลดการแตกเสียหายที่เกิดจากฝนตกก่อนการก็บเกียว กรณีที่เกษตรกรมีมะนาวที่แก่จัดรอการเก็บเกี่ยวแต่เกิดมีฝนตกหนักทำให้มะนาวกินน้ำฝนเข้าไปเยอะทำให้ผิวมะนาวปริแตก เพราะผิวมะนาวพันธุ์ที่ผิวบางไม่สามารถทนได้


สรรพคุณทางยา

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค ไวตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย
มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตา บำรุงผิว และยังสามารถมีฤทธิ์ในการกัดด้วยเป็นต้น



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู


      การบังคับให้มะนาวออกนอกฤดู สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี


   1.การทำให้ต้นมะนาวเกิดความเครียด โดยการงดน้ำ
    2.การทำให้ต้นมะนาวเกิดความเครียด โดยการตัดท่อส่งน้ำ/ท่อส่งอาหาร ด้วยวิธีควั้นกิ่งหรือลวดมัด
    3.การทำให้ต้นมะนาวเกิดความเครียด โดยการงดน้ำพร้อมทั้งใช้สารเคมีควบคู่กันไปด้วย

วิธีการทำให้มะนาวติดผลนอกฤดูกาล ปกติแล้วแต่ความถนัด หรือความชำนาญของแต่ละบุคคล ในที่นี้จะแนะนำวิธีที่ 3 ซึ่งผ่านการทดลอง และได้ผลมากที่สุด


               ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของการติดผลของมะนาวก่อน ธรรมชาติของมะนาวโดยทั่วไปจะติดผลประมาน 2 ครั้ง/ปี ตามรูปชาร์ตแสดง และจะต้องมีการสะสมอาหารที่เพียงพอพร้อมทั้งต้องผ่านการขาดน้ำ (แล้ง) มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อได้น้ำหรือน้ำฝนก็จะเริ่มแตกยอดหรือดอก ตามความสมบูรณ์ของต้น ถ้ามีการสะสมอารหารเพียงพอและได้รับธาตุอาหารที่มี โพแตสเซี่ม และฟอสฟอรัส ที่เพียงพอก็จะเกิดช่อดอก ส่วนสำคัญคือน้ำและธาตุอาหาร
   




2.การบำรุงต้นมะนาวให้มีสมบูรณ์ เริ่มต้นการบำรุงในชวงเดือน พฤษภาคม,มิถุนายน ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ่ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15,16-16-16 เป็นต้น พร้อมทำการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ








3.เริ่มทำการตัดยอดทั้งหมดที่ต้องการให้ออกดอก การตัดยอดจะทำการตัดปลายยอกช่วงข้อที่สองของยอด พร้อมทั้งใส่ปู๋ยโยกหน้า คือมีสูตรปุ๋ยตัวหน้าสูง 18-6-6,25-7-7 พร้อมรดน้ำให้ปุ๋ยละลาย หลังจากนั้นประมาน 15 วัน ทำการพ่นสาร พาโคลบิวทราโซล (PBZ 400 ppm ) จากนั้น 30 วันให้ใส่ปู๋ยโยกหลัง 9-14-34 หรือสูตรเทียบเท่า หลังจากนั้นรออีก 60 วัน ทำการพ่นสารพาโคลบิวทราโซล ในปริมาณความเข้มข้นเท่าเดิม และทำการงดน้ำ
       หลังจากทำการงดน้ำแล้ว สังเกตุใบมะนาวใบจะเริ่มเฉา (ไม่กำหนดวันเนื่องจากขึ้นอยู่กับลักษณะการปลูกและปริมาณน้ำฝน) จากนั้นใส่ปุ๋ยโยกหลังและรดน้ำให้ชุ่มจนปุ๋ยละลาย ห้ามใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักขณะทำการบังคับให้ออกดอกเนื่องจาก ปุ๋ยดังกล่าวมี ไนโตรเจนสูงจะทำให้มะนาวแตกยอดอ่อนแทนดอกได้ครับ
     กรณีช่วงงดน้ำมีฝนตกให้ใส่ปุ๋ย 0-0-60 ปริมาณ 50 กรัม/ทรงพุ่ม 1 เมตร และใช้ปุ๋ยเกร็ด สูตรปุ๋ยตัวที่ตัวกลาง ตัวท่ายสูง ฉีดพ่นทางใบซึ่งช่วยทำให้พืชลดการกินปุ๋ยในโตรเจนได้
      จากนั้นให้รดน้ำปกติจนมะนาวจะออกดอก จากนั้นให้ใส่ปุ๋ย สูตรโยกหน้าตามรยะเวลาปกติ

  

   หลังจากดอกออกเป็นที่น่าพใจแล้วก็ใสปุ๋ยยบำรุงตามปกติ สูตรที่สวน 15-15-15  อัตรา 2 ส่วน ผสมกับ 40-0-0 อัตรา 1 ส่วน เป็นสูตรโยกหน้าแล้วครับ หรือใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ได้ตามปกติ
     

         ปล.การทำให้มะนาวออกดอกพร้อมกันและไม่ต้องใช้สารเคมีบังคับ ซึ้งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องการลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมีเพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างของสารพาโคลบิวทราโซล ซึ่งมีผลทำให้ต้นมะนาวอ่อนแอและต้นโทรมเร็ว
  1. การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้เกิดการแตกยอดที่พร้อมกัน อายุยอดที่พร้อมกันนั่นหมายถึงการติดดอกที่พร้อมกัน ออกผลพร้อมกัน
  2. การให้ปุ๋ยสุตรเสมอ 15-15-15,16-16-16 และปุ๋ยคอกตามปกติ หรือปุ๋ยทางใบสูตรเสมอหรือตัวหน้าสุูงบ้างเดือนละครั้ง เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีและสะสมอาหารให้เพียงพอต่อการติดดอก
  3. เมื่อแตกยอดและใบอ่อน ควรทำการฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดแมลง ทุกๆ 7-10 วัน/ครั้ง
  4. เมื่อยอดหรือกิ่งที่มีอายุประมาณ 45-60 วัน ที่มีลักษณะใบเริ่มเพสลาด (คือใบที่เปลี่ยนจากใบอ่อนที่มีสีเขียวเข้ม) นั่นคือการแสดงถึงความพร้อมที่จะออกดอกครับ..











วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดการกิ่งตอนมะนาว และการเตรียมดิน


การจัดการกิ่งตอนมะนาวแป้นพิจิตร1

ที่สวน ปักธงชัยพันธุ์มะนาว

ก่อนอื่นต้องจัดเตรียมวัสดุปลูกก่อนครับ เริ่มจากอัตราส่วน ไม่มีสูตรตายตัวครับ ที่สวนใช้ขี้วัว (2 ส่วน) ถ้าผ่านการหมักให้ย่อยแล้วจะดีมากครับ กากมะพร้าวสับ (1 ส่วน) แกลบดิบ (1 ส่วน) แล้วก็ดิน (2 ส่วน) ดินแถวสวนเป็นดินรวน ปนทรายเยอะไปหน่อย แต่ไม่ใช่ปัญหาครับ หรือมีตังหน่อยจะใช้หน้าดินที่มีความสมบูรณ์มากหน่อยก็จะดี ครับ!




จากนั้นทำการผสมให้เท่ากัน รดน้ำให้พอหมาดๆ เอาพองาม




ขั้นตอนต่อมา เรามาเตรียมกิ่งพันธุ์กัน หลังจากตัดกิ่งช่วงเช้าขณะที่แดดยังไม้ร้อน นำมาเข้าร่มแล้วก็จัดการพรมน้ำให้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อลดการคายน้ำ ทำให้กิ่งเฉา





จากนั้นทำการตัดแต่งกิ่งและใบที่ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งกรณีที่ใบเยอะเกินไปต้องกำจัดออกบ้าง
 เพื่อลดการครายน้ำของกิ่ง ที่สวนจะไม่นิยมเลี้ยงกิ่งแขนงมากนัก จะมีปัญหาเกียวกับการจัดทรงพุ่มภายหลัง ไม่ต้องเสียดายครับ แป๊บเดียวก็จะเริ่มแตกใหม่





ต่อมาจัดการแช่น้ำให้ชุ่ม พร้อมกับผสมสารป้องกันเชื้อรา เมธาแลคซีล สีเหมือนหวานเย็นเลย ป้องกันรากเน้าครับขณะชำถุงครับ


ความสมบูรณ์ของรากครับ


ขนาดความสูงของกิ่งพันธุ์ ประมาน 50-70 ซ.ม.









รายละเอียดและขั้นตอนการปลูก การเตรียมดิน การดูแลรักษา การบังคับให้ออกนอกฤดู สามราถปรึกษาที่สวนได้ครับ สวนอยู่โคราช อ.ปักธงชัย 

จำหน่ายต้นพันธุ์มะนาว แป้นพิจิตร1,ตาฮิติ (ไร้เมล็ด),แป้นดกพิเศษ 
กิ่งพันธุ์มะกรูด(หนามน้อย) 
มะนาว เป็นกิ่งตอนครับ ราคากิ่งละ 50 บาท 
มะกรูด เป็นกิ่งต่อยอด ราคาเริ่มต้น กิ่งละ 35 บาท 
รับส่งทางไปรษณี ด้วยครับ ราคาค่าส่งคิดตามน้ำหนัก 
ราคาต่อรองได้ครับ สนใจโทรมาคุยก่อนก็ได้ครับ 
ให้คำปรึกษาในขั้นตอนการปลูก การดูแลทุกขั้นตอน 
สามารถเข้าเยี่ยมชมสวนดูงานได้ครับ

วิชา กายพรมราช
081-9065330
wi_cha99@hotmail.com
wicha.km@gmail.com