วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

แมลงศัตรูพืชในมะนาว

เพลี้ยไฟ



เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน

     เพลี้ยไฟปกติจะระบาดหนักในช่วงอากาศร้อนชื้นหรือช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝน เป็นหลัก วงจรชีวิตตั้งแต่ไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ20-30 วัน ระยะไข่ถึงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ก็เป็นตัวอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของพืชได้โดยวิธีเขี่ยและดูด (การเขี่ยทำให้ผลเป็นแผลตัวเต็มวัยเพศเมีย 1ตัว สามารถวางไข่ได้ 100-500 ฟอง ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ทั้งได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ และสามารถวางไขได้เองโดยไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ ตัวเมียจะวางไข่ภายในเนื้อเยื่อบริเวณด้านบนของใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน

    การระบาดในมะนาว

             ความเสียหายที่เกิดจากการเข่้าทำลายของเพลี้ยไฟนอกจากส่วนที่เป็นใบอ่อน ยอดอ่อนแล้ว ผลอ่อนก็ยังพบการเข้าระบาดเหมือนกัน ทั้งนี้เราไม่สังเกตุเห็นเนื่องจาก ขนาดของผลที่เล็กมากจึงไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนนัก แต่เมื่อขนาดของผลเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะยิ่งชัดเจนมากเท่านั้น

      การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ

          จะเน้นเชิงการควบคุมปริมาณประชากรเป็นหลักโดยสังเกตปริมาณการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในช่วงเวลาของการเริ่มระบาด หากพบว่ามีปริมาณของเพลี้ยไฟ ในช่วงของการเริ่มต้นการระบาดจำนวน 1ตัว/1ใบพืช หรือ 1ตัว/ยอด ก็ให้ใช้หลักการป้องกันการเพิ่มปริมาณประชากรทันที โดยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อิมิดาคลอพริค 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มาลาไทออน (มาลาไธออน 83% อีซี) อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บวก  "สารชีวภัณฑ์"  เพื่อกำจัดไข่  การกำจัดทั้งตัวอ่อน ตัวเต็มวัย และไข่ จะทำให้ทั้งเพลี้ยไฟสูญพันธุ์
โดยสาเหตุที่เพลี้ยไฟมีขนาดลำตัวเล็ก และมีวงจรชีวิตสั้นจึงควรเน้นเครื่องพ่นที่มีขนาดละอองยาเล็ก เพื่อให้ละอองยาทะลุทุลวงทรงพุ่มได้ดี และควรฉีดพ่นครั้งที่ และครั้งที่ห่างกัน 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดหนักอาจจำเป็นต้องฉีดพ่น 3-4 ครั้ง ห่างกันทุก 5-7 วัน จึงจะสามารถควบคุมปริมาณประชากรเพลี้ยไฟได้ดีแน่นอน รวมทั้งแมลงศัตรูพืชทุกชนิด เช่น
เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอน ฯลฯ


                        



หนอนชอนใบ

หนอนชอนใบ ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนชอนใบ ลัษณะอาการ ผิวใบเป็นรอยทางเดินของหนอนแบบไม่มีทิศทาง ใบที่ถุกทำลาย มีลักษณะใบหยิก ผิดรูป ถ้าเป็นใบอ่อนจะม้วนงอ สามารถป้องกันและแก้ไขโดยใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่น ทุก 4-7 วัน จนกว่าการระบาดจะหมดไป เคมีประเภท อะบาเม็กติน ไม่ควรใช้คาร์โบซัลแฟน และคลอร์ไพริฟอส มีพิษตกค้างเยอะมาก ไม่ควรใช้กับไม้ผลที่ไกล้เก็บเกียว นะครับ..


                                    

                                     

                                     

ภัย..จากหนอนเจาะลำต้น 

หนอนเจาะลำต้น ชื่อจริง "หนอนเจาะลำต้นกาแฟ" ระบาดในพืชอาศัย กาแฟ ลำใย ส้ม มะนาว เป็นต้น ความเสียหาย เจาะกัดกินภายในกิ่ง ทำให้กิ่งแห้งตาย ลักษณะลำตัวสีแดง หัวสีขาวออกเหลือง จะระบาดในช่วงฤดูฝน การป้องกัน หมั่นสำรวจแปลงปลูก ทำความสะอาดใต้ทรงพุ่ม พบการระบาดให้ตัดทิ้งและฉีดพ่นสารกำจัด 1-4-7 ครั้ง/วัน






ไม่มีความคิดเห็น: